Squid Game Vs Alice In Borderland เกม Battle Royale ไหนดีกว่ากัน?
เนื่องจากซีรีส์ Alice in Borderland และ Squid Game ต่างก็เป็นซีรีส์ในแนว Battle Royale ที่ดึงดูดใจอย่างไม่น่าเชื่อ จึงไม่น่าแปลกใจที่มีการถกกันว่าซีรีส์ไหนดีกว่ากัน
คำเตือน: เนื้อหาด้านล่างนี้มีสปอยล์สำหรับ Alice in Borderland และ Squid Game
Alice in Borderland และ Squid Game ต่างก็เป็นหนึ่งในซีรีส์เกี่ยวกับเกมการเอาชีวิตรอดที่โลดโผนที่สุด แต่หนึ่งในนั้นอาจเหนือกว่าเกมอื่นๆ เล็กน้อย ในขณะที่ Squid Game ของ Netflix นั้นไม่จำเป็นต้องมีการแนะนำใดๆ เมื่อพิจารณาถึงจำนวนการรับชม 1.65 พันล้านชั่วโมงใน 28 วันหลังจากรอบปฐมทัศน์ ส่วน Alice in Borderland เป็นซีรีส์ระทึกขวัญการต่อสู้ที่มีความคลุมเครือมากกว่าซึ่งจะมีความรุนแรงเพิ่มขึ้นตามลำดับ หลังจากที่ Netflix ได้เปลี่ยนเส้นทางผู้ชมของ Squid Game ไปทางนั้น ซีรีส์ทั้ง 2 เรื่องนี้ได้ดึงดูดจนกลายเป็นความสนใจหลักจากซีรีส์แอ็กชันที่น่าตกใจ และมีการเล่นเกมที่จับคู่กับความตาย แต่การดูธีมและลักษณะเฉพาะของซีรีส์ให้ละเอียดยิ่งขึ้นแสดงให้เห็นว่าการเล่าเรื่องที่ครอบคลุมของพวกเขามีอะไรมากกว่าที่เห็น
พื้นที่เล่นเกมของ Alice in Borderland แผ่ขยายออกไปทั่วพื้นที่บริเวณของโตเกียวที่รกร้างซึ่งเป็นสมรภูมิการต่อสู้สำหรับผู้เล่นเพียงไม่กี่คนที่ได้รับคัดเลือก อย่างไรก็ตาม นอกเหนือจากการเล่าเรื่องแบบ Ready Player One (2018) แล้ว ซีรีส์ญี่ปุ่นยังได้นำความคล้ายคลึงมาสู่ Alice in Wonderland ของ Lewis Carroll หลายเรื่อง และแสดงให้เห็นว่าเสาหลักที่สั่นคลอนของสังคมที่แตกสลายนั้นบิดเบือนศีลธรรมของมนุษย์อย่างไร ในเรื่อง Squid Game มีการตั้งค่าที่คล้ายกัน แต่มีพื้นฐานมาจากความเป็นจริงมากกว่าที่จะมีความหมายเหนือธรรมชาติ ต่างจาก Alice in Borderland เกมของซีรีส์เกาหลีซึ่งเกิดขึ้นในสถานที่จริง และยังมีรางวัลใหญ่สำหรับผู้เล่นคนสุดท้ายที่เหลืออยู่
ด้วยความคล้ายคลึงกันของซีรีส์ทั้ง 2 เรื่องจนดูเกือบจะเหมือนกันในบางจุด เมื่อพูดถึงเรื่องปัจจัยด้านความบันเทิงของพวกเขา และเนื่องจากทั้งคู่ได้อยู่เหนือฉากแอ็กชันที่มีความรุนแรง ที่ทำให้ผู้ชมมีคำถามที่กระตุ้นความคิดมากมาย ซีรีส์ทั้ง 2 เรื่องจึงมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อประเภทดังกล่าวอย่างปฏิเสธไม่ได้ อย่างไรก็ตามโดยรวมแล้ว Squid Game ยังคงดูเหนือกว่าการดัดแปลงมังงะในเวอร์ชันคนแสดงจริงของ Netflix อย่างเรื่อง Alice in Borderland เนื่องจากรากฐานที่มั่นคงและการดึงดูดแนวคิดที่เป็นสากลในซีซันที่ 1
Alice in Borderland มีการแสดงที่ยอดเยี่ยม แต่ Squid Game นำเสนอความลึก และความหลากหลายของตัวละครที่มากขึ้น
Alice in Borderland ได้สร้างเวทีสำหรับโลกดิสโทเปียขึ้นมา ที่ที่น่าอัศจรรย์โดยมีการใช้ตัวละครหลักเพียง 3 ตัว ได้แก่ Arisu, Karube และ Chota การดำเนินเรื่องโดยใช้บัดดี้ไดนามิกของตัวละครทั้ง 3 ผ่านชุดเกมที่แยบยล แต่ทันใดนั้นก็ได้กำจัด Karube และ Chota ในตอนที่ 3 ออกอย่างที่ผู้ชมเองก็ไม่ทันได้ตั้งตัว เพื่อเพิ่มมิติของตัวละครของ Arisu แม้ว่าสิ่งนี้จะพิสูจน์ให้เห็นว่าเป็นการเคลื่อนไหวที่เสี่ยงสำหรับโครงเรื่องที่ครอบคลุมของ Alice in Borderland แต่การแสดงที่มีแนวโน้มของนักแสดงทั้ง 3 คนทำให้เรื่องราวน่าตื่นเต้น และคุ้มค่า น่าเสียดายที่หลังจากการจากไปของ Chota และ Karube Alice in Borderland ก็ได้ทำให้ตื่นตระหนก และมีเกมที่ซับซ้อนมากยิ่งขึ้นเพื่อสร้างความพอใจอย่างต่อเนื่องให้กับผู้ชม แทนที่จะมุ่งเน้นไปที่การพัฒนาตัวละคร
Squid Game มีการนำเสนอรายชื่อตัวละครที่หลากหลายตั้งแต่เริ่มต้น และใช้เวลาในการสานเรื่องราวส่วนตัวที่มีส่วนร่วมสำหรับพวกเขาทั้งหมด การเล่าเรื่องส่วนตัวเหล่านี้ทำให้เกิดความเห็นอกเห็นใจต่อตัวละคร แม้ว่าตัวละครจะติดตามการไล่ล่ารางวัลเงินก้อนโตอย่างไม่ใส่ใจก็ตาม ในท้ายที่สุด Squid Game ก็มีการพัฒนาตัวละครนั้นๆ ได้ผลดีอย่างไม่น่าเชื่อ เนื่องจากความหายนะที่เกิดขึ้นในตอนท้ายของแต่ละตัวละครนั้นค่อนข้างบีบหัวใจผู้ชมจำนวนมาก และมีความสำคัญพอๆ กันกับเนื้อเรื่องของซีรีส์ Squid Game ยังได้ทำลายทัศนคติทางเชื้อชาติ และเน้นให้เห็นถึงการต่อสู้ดิ้นรนของแรงงานอพยพผ่านโครงเรื่องของ Abdul Ali ในขณะที่ผู้เล่นคนอื่นๆ ส่วนใหญ่จับจ้องไปที่รางวัล แต่ Ali ไม่เคยละสายตาจากศีลธรรมของเขาเลย และมาปรากฎตัวที่เกมแห่งนี้เพื่อช่วยเหลือครอบครัวของเขาเท่านั้น แม้ว่า Ali จะเป็นตัวเอกรองในโครงเรื่องของ Squid Game แต่การพัฒนาของเขาก็ได้พิสูจน์ได้ว่าเรื่องราวนี้ฉุนเฉียวเกินคาดเดาเพียงใด เพราะมันแสดงให้เห็นว่าถึงเขาจะพยายามปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์มากแค่ไหนก็ตาม ความซื่อสัตย์ และการทำงานหนักของเขายังไม่ได้รับการชื่นชม และไม่ได้รับผลตอบแทนอยู่ดี
Squid Game มีความสมจริงที่น่าเชื่อถือได้มากกว่า
Alice in Borderland ได้เล่นกับความกลัวในสิ่งที่เราไม่รู้จัก โดยแทบจะไม่เปิดเผยอะไรเลยเกี่ยวกับความลึกลับที่ครอบคลุมอยู่ ในซีซันแรกมันพิสูจน์ได้ว่ามีกองกำลังเหนือธรรมชาติที่มองไม่เห็นอยู่เบื้องหลังการสร้างโลก และเกมนี้ขึ้นมา และมนุษย์ได้สร้างเพียงระบบย่อยในโลกเหนือธรรมชาตินี้เพื่อให้เข้าถึงสภาพแวดล้อมที่ดูคลุมเครือ ในขณะที่องค์ประกอบเหนือธรรมชาติยังคงปกคลุมไปด้วยความลึกลับตลอดทั้งซีซันแรก ระบบการกำจัดมนุษย์ก็มีนัยยะทางการเมืองที่น่าสนใจบางอย่าง Alice in Borderland ยังได้กล่าวถึงประเด็นที่ลึกซึ้งอื่นๆ เกี่ยวกับบาดแผล และความโดดเดี่ยว แต่มันทำได้เพียงแค่ควบคุมสิ่งต่างๆ ในซีซันแรกเท่านั้น
ในทางตรงกันข้าม Squid Game นั้นเกิดจากการพาดพิงถึงความเหลื่อมล้ำทางชนชั้น และระบบทุนนิยมในโลกแห่งความเป็นจริง Squid Game ของ Netflix มีการใช้ถ้อยคำพาดพิงถึงผลกระทบในด้านลบของระบบทุนนิยมในสังคมยุคใหม่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับผู้ที่อยู่ในชนชั้นที่มีรายได้ต่ำ ตัวละครมักมองไม่เห็นศีลธรรม และความยุติธรรมในขณะที่พวกเขาไล่ล่าเงินรางวัลใหญ่ของเกมที่มีสูงถึง 45.6 พันล้านวอน และสิ่งนี้ทำให้พวกเขามีความเกี่ยวข้องกันมากกว่าใน Alice in Borderland เพราะความโลภและความคลาสสิคยังแพร่หลายแม้ในโลกแห่งความเป็นจริงก็ตาม การสำรวจแนวคิดต่อต้านทุนนิยมของ Squid Game นั้นไม่พิถีพิถัน และสร้างสรรค์ในการเล่าเรื่องเหมือนในซีรีส์คลาสสิกของเกาหลีที่ได้รับการยกย่องอย่าง Parasite (2019) และ Snowpiercer (2013) ของ Bong Joon-ho แต่การพรรณนาถึงความรุนแรงของสงครามชนชั้นกลับได้รับความนิยมอยู่เสมอ
Alice In Borderland มีการเล่นเกมได้อย่างชาญฉลาด แต่ Squid Game นั้นน่าดื่มด่ำมากกว่า
Alice in Borderland มีการเล่นเกมแนวความคิดสูงที่มักจะต้องการสติปัญญา และความแข็งแกร่งจากตัวละคร ในทางกลับกัน สิ่งนี้ทำให้เกิดข้อได้เปรียบที่ไม่เป็นธรรมแก่ตัวละครที่มีไหวพริบเช่น Arisu และนักกีฬาอย่าง Usagi เนื่องจากการเล่นเกมของ Squid Game นั้นอิงจากความสนุกในสนามเด็กเล่นในโลกแห่งความเป็นจริง ส่วนใหญ่จึงเข้าใจได้ง่าย และดูเหมือนจะยุติธรรมสำหรับตัวละครทุกตัว ตัวอย่างเช่น การชักเย่อใน Squid Game ในตอนแรกนั้นดูเหมือนจะไม่ยุติธรรมเพราะถือว่าเป็นเกมที่ต้องใช้ความแข็งแกร่งเป็นหลัก อย่างไรก็ตาม กลยุทธ์ง่ายๆ ของชายชรา Oh ll-nam ก็สามารถเอาชนะทีมที่แข็งแกร่งกว่าได้ ซึ่งได้พิสูนจ์ให้เห็นว่าเกมของรายการเหล่านี้ทำให้ผู้เล่นทุกคนมีโอกาสที่จะชนะอย่างเท่าเทียมกัน
ด้วยเหตุผลเหล่านี้ การเล่นเกมของ Alice in Borderland จึงน่าสนุกในการรับชม แต่ Squid Game นั้นมีความสมจริงมากกว่า และ Squid Game เองยังเน้นถึงไดนามิกโดยรวมของผู้เข้าร่วมทั้งหมด แต่ Alice in Borderland อาศัยการหักมุมและพลิกผันเพื่อดึงดูดใจในการเล่นเกม สิ่งนี้ทำให้ Squid Game ได้เปรียบเพราะเกมที่เรียบง่ายแต่น่าดึงดูดใจมักมีจุดมุ่งหมายในโครงเรื่องที่ครอบคลุม พวกเขาบังคับตัวละครให้เข้าสู่สถานการณ์ที่พวกเขาไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้ แต่ต้องทำงานกันเป็นทีมทำให้พวกเขาตกอยู่ในสถานการณ์อันเลวร้ายที่พวกเขาได้ทำตามแรงกระตุ้น และทรยศต่อเพื่อนของพวกเขาเองเพื่อเอาชีวิตรอด
ทำไหม Squid Game ถึงฟังดูดีกว่า?
แม้จะมีช่องโหว่ที่ชัดเจน และไม่สอดคล้องกันอยู่บ้าง แต่ Squid Game ก็สามารถเอาชนะ Alice in Borderland ได้ เนื่องจากความจริงจัง และความเร่งด่วนของเนื้อหา การแสดงทั้ง 2 มีความคล้ายคลึงกันมากในตอนเริ่มต้น แต่ก็ได้ล่องลอยไปในทิศทางที่ตรงกันข้ามกัน ในขณะที่ Squid Game เน้นไปที่ความสะเทือนอารมณ์ซึ่งนำเสนอในช่วงแรก และเปลี่ยนความคิดถึวในวัยเด็กให้เป็นสิ่งที่น่ากลัวสยดสยองได้อย่างยอดเยี่ยม Alice in Borderland ผสมผสานละครหลังวันสิ้นโลกเข้ากับฉากแอคชันที่เหนือชั้นมากเกินไปและทำให้เสียเสน่ห์ในการไล่ตามกับเกมเอาชีวิตรอดในแต่ละเกม
อย่างไรก็ตาม จากที่กล่าวมาคำตอบของคำถามที่ว่า เรื่องไหนดีกว่ากัน? ในกรณีนี้อาจเป็นเรื่องส่วนตัวของแต่ละบุคคล เพราะมันขึ้นอยู่กับสิ่งที่ผู้ชมต้องการจะมองหา Alice in Borderland เป็นการดัดแปลงอานิเมะฉบับคนแสดงมากกว่า อันเนื่องมาจากตัวละครในสไตล์มังงะ ความลึกลับเหนือธรรมชาติ และทิวทัศน์เมืองโตเกียวที่ดูเหนือจริง ในขณะเดียวกัน Squid Game ให้ภาพวัฒนธรรมเกาหลีและยังคงสะท้อนอารมณ์ตลอดการฉายโดยไม่กระทบต่อคุณภาพของเกม สรุปแล้วทั้ง 2 เรื่องมีความน่าสนใจของตัวเองอยู่แล้ว และมีแนวโน้มว่าจะดีขึ้นในซีซันที่กำลังจะมาถึงนี้ แต่ Squid Game ดูเหมือนจะเป็นผู้ชนะที่ชัดเจนในตอนนี้!
ใครชอบเรื่องไหนมากกว่ากันแวะมาคุยกันกับเราได้ที่คอมเมนต์ด้านล่างนี้นะคะ 👇😄
คุณต้อง สมัครสมาชิก หรือ เข้าสู่ระบบ ก่อน เพื่อที่จะสามารถแสดงความคิดเห็นได้