รีวิว Interstellar (2014) เวิ้งว้างสุดตระการตา ล้ำลึกถึงหลุมดำในจิตใจ พุ่งชนด้วยทฤษฎีวิทย์แบบเกินต้าน!

Interstellar หรือชื่อภาษาไทย อินเตอร์สเตลลาร์ ทะยานดาวกู้โลก ภาพยนตร์ปี 2014 ถูกนำกลับมาฉายในสตรีมมิงอย่าง Netflix เมื่อเร็วๆ นี้ ทางด้านแฟนๆ ภาพยนตร์ของ Christopher Nolan ต่างก็อดใจไม่ไหวที่จะต้องเปิดมันดูอีกครั้ง ในส่วนของครีเอเตอร์ด้านภาพยนตร์หลายๆ แห่งต่างก็นำเอาวัตถุดิบบางอย่างจากภาพยนตร์เรื่องนี้กลับมาสร้างคอนเทนต์กันอย่างมากมาย และแน่นอนว่าความเป็นหนังของ Nolan ที่มักจะมีเรื่องให้พูดกันหลังหนังจบเสมอ Interstellar ก็คงจะมีผู้ที่เขียนรีวิวหรือวิเคราะห์ออกมาแล้วมากมายนับตั้งแต่หนังออกฉายปี 2014 สำหรับรีวิวนี้ผู้เขียนจึงอยากลองเขียนรีวิวด้วยมุมมองของผู้ที่กลับมาชมอีกรอบในปี 2022 นี้ด้วยคอนเซปต์ตามหัวข้อรีวิวที่ว่า “เว้งว้างสุดตระการตา ล้ำลึกถึงหลุมดำในจิตใจ พุ่งชนด้วยทฤษฎีวิทย์แบบเกินต้าน!”

Interstellar เป็นเรื่องราวของ Joseph Cooper (รับบทโดย Matthew McConaughey) อดีตนักวิศวกรและนักบินอวกาศของนาซ่า ที่อยู่ในคราบของชาวไร่ข้าวโพด เขาและครอบครัวต้องเผชิญกับภัยพิบัติของโลกที่กำลังเข้าสู่ห้วงสุดท้ายและกำลังจะขาดแคลนอาหาร จนวันหนึ่งเขาได้พบกับองค์กรลับของนาซ่าที่แอบปฏิบัติหน้าที่อยู่ เขาจึงกลับไปเป็นหนึ่งในทีมภารกิจที่สำคัญสุดในประวัติศาสตร์มนุษยชาติ โดยการเดินทางไปค้นหาความเป็นไปได้ในอนาคตของมนุษยชาติ ในจักรวาลอันกว้างใหญ่

backdrop-0

“เว้งว้างสุดตระการตา” ปัจจุบันคงเป็นที่ทราบกันดีแล้วว่า Interstellar ไม่เป็นสองรองใครในเรื่องของงานภาพและเทคนิคพิเศษ ด้วยการการันตีจากรางวัลที่ภาพยนตร์ได้รับมา เพียงแค่ในสาขาเดียวอย่าง ‘สาขาเทคนิคพิเศษยอดเยี่ยม’ ก็กวาดมาแล้วสี่เวทีด้วยกัน และหนึ่งในนั้นคือจากเวทีรางวัลออสการ์ นี่ยังไม่รวมถึงรางวัลที่เกี่ยวกับงานด้านภาพและเสียงอื่นๆ อีกมากมาย ผู้กำกับอย่าง Christopher Nolan มักจะสนุกกับความใหญ่และอลังการของฉาก ซึ่งถ้าหากสังเกตุฉากสำคัญของเขาจะมีการทิ้งสเปซหรือพื้นที่กว้างๆ จนเป็นเอกลักษณ์ไปแล้ว จนบางทีก็ดูอ้างว้างแบบไม่รู้ตัว ตัวอย่างเช่นฉากห้องเก็บยุทโธปกรของ Batman ใน The Dark Knight หรือฉากสนามหลอดไฟใน The Prestige และสำหรับ Interstellar หากยังไม่นับรวมฉากอวกาศสุดเวิ้งว้างที่มีให้เห็นมากมายแล้ว แม้แต่ฉากบนโลกอย่างไร่ข้าวโพดของ Cooper ที่กว้างไกลสุดลูกหูลูกตาที่ซึ่งผู้กำกับเองถึงขั้นลงทุนปลูกมันขึ้นมาใหม่จริงๆ โดยไม่ง้อเทคนิคพิเศษทางคอมพิวเตอร์ใดๆ ช่วยเลย

backdrop-1

“ล้ำลึกถึงหลุมดำในจิตใจ” ในส่วนนี้ขอพูดถึงเนื้อเรื่องที่ลึกซึ้งในความรักของครอบครัวและการเสียสละของตัวละครผ่านเรื่องราวด้านวิทยาศาสตร์อันซับซ้อน โดยเฉพาะระหว่าง Cooper กับลูกสาวของเขา Murph (รับบทโดย Mackenzie Foy และ Jessica Chastain) จุดเปลี่ยนของหนังที่นำเราเข้าสู่ความซับซ้อนนั้นก็คือ เมื่อตอนที่ Cooper ขับยานผ่านเข้าไปในหลุมดำ (Black Hole) เขาต้องทำการดีดตัวออกจากยานและลงสู่จุดที่อยู่ลึกที่สุดของหลุมดำ (Singularity) และในที่แห่งนี้มันเป็นจุดที่ประกอบไปด้วยมิติทั้งหมด 5 มิติ ซึ่งจะสามารถส่งผ่านแรงโน้มถ่วงไปยังช่วงเวลาต่างๆ ได้อย่างอิสระ ในกรณีนี้ Cooper เลือกที่จะไปหาลูกสาวตนเองในห้องนอนตรงชั้นหนังสือเพื่อที่จะบอกวิธีช่วยโลก เขาพยายามติดต่อกับ Murph ด้วยวิธีต่างๆ จนในที่สุดก็หาจุดร่วมกันเจอด้วยรหัสมอร์ส (Morse Code) จน Murph สามารถไขปริศนาสมการนี้และช่วยโลกเอาไว้ได้ แม้จะมีสิ่งที่น่ายินดีอิ่มเอมในหัวใจตั้งแต่ช่วงเวลานี้ แต่สิ่งที่น่าเศร้าใจในช่วงต่อมาก็คือการบิดเบี้ยวของเวลาที่อยู่ในอวกาศมันทำให้ลูกสาวของเขาต้องแก่และหมดอายุขัยไปตามกาลเวลาเมื่อเขากลับมายังโลกในสภาพวัยที่ยังเหมือนเดิม

backdrop-2

“พุ่งชนด้วยทฤษฎีวิทย์แบบเกินต้าน” หากย้อนไปในปี 2014 ที่หนังเข้าฉายในโรงภาพยนตร์ครั้งแรก อาจมีผู้ชมหลายๆ คนรวมทั้งตัวผู้เขียนเองก็คาดหวังที่จะเข้าไปชมหนังที่คิดว่าจะต้องมีพื้นฐานที่เกี่ยวกับ ‘ทฤษฎีของเวลา’ ในแบบที่เราเคยดูการเล่าเรื่องแบบย้อนกลับใน Memento (2000) หรือลำดับเวลาของความฝันที่ซ้อนกันใน Inception (2010) ซึ่งสองเรื่องที่พูดมานี้ต่างก็มีทฤษฎีไม่กี่ทฤษฎีเท่านั้น แล้วแถมยังถูกใช้ในแง่ของเทคนิคที่เป็นโครงสร้างของการเล่าเรื่องมากกว่า ก็ไม่คิดว่า Nolan จะเล่นงานพวกเราให้หัวหมุนได้ด้วยทฤษฎีมากมายขนาดนี้ ซึ่งไม่เพียงแต่ในเชิงโครงสร้างการเล่าเรื่องเท่านั้น แต่มันซึมอยู่เต็มไปทั่วเนื้อหาภายในด้วยซ้ำ แม้แต่ภาพยนตร์ที่ออกมาหลังอย่าง Tenet (2020) ก็ยังไม่เท่า แต่ไม่ว่าทฤษฎีจะมากมายแค่ไหน Nolan ยังคงใส่ความเฉียบคมของบทภาพยนตร์ภายใต้ทฤษฎีวิทยาศาสตร์สุดเข้าใจยากเอาไว้นับไม่ถ้วน ยกตัวอย่างครั้งที่ Murph ในวัยเด็กสามารถถอดรหัสจากสิ่งที่เธอเรียกว่าผีได้จากชั้นวางหนังสือของเธอ ข้อความนั้นสื่อสารกับเธอว่า “STAY” สิ่งนี้มันจึงทำให้เธอไปห้ามให้พ่อของเธอ “ให้อยู่ อย่าไป” แต่เมื่อถึงจุดหนึ่งในขณะที่ Murph โตขึ้น เธอจึงทำการวิเคราะห์ใหม่ได้ว่า “STAY” มันได้หมายถึงพ่อของเธอ “ยังมีชีวิตอยู่” ต่างหาก ซึ่งข้อความดังกล่าวมันก็ถูกส่งมาจาก Cooper จริงๆ นั่นแหละ เหมือนคำตอบของทฤษฎีทั้งหลายที่รองรับหนังเรื่องนี้อยู่มันจะบอกเป็นนัยๆ ให้แก่มนุษยชาติแบบเราที่นั่งชมอยู่ได้รับรู้ในแบบเดียวกับที่ Cooper เข้าใจได้อย่างหนึ่งและสามารถเข้าใจได้ง่ายๆ ว่า “แท้ที่จริงแล้ว เป็นตัวเราเองนั่นแหละ ที่ได้ชักนำให้เรามาถึงจุดนี้”

avatar
รีวิวโดย AVAVARAN
0 8

9.9 / 10

รายละเอียดคะแนน

circle

คุณภาพด้านการแสดง

10.0 / 10

circle

คุณภาพของบทภาพยนตร์

10.0 / 10

circle

คุณภาพด้านเทคนิคการสร้าง

10.0 / 10

circle

คุณภาพด้านเสียง

9.5 / 10

circle

ความคุ้มค่าเวลาในการรับชม

10.0 / 10

ข้อมูลภาพยนตร์

แอดเวนเจอร์|ดราม่า|ไซไฟ|

อินเตอร์สเตลลาร์ ทะยานดาวกู้โลก

PG-13

169

นาที

Christopher Nolan

ผู้กำกับ, นักเขียน

Jonathan Nolan

นักเขียน

ภาษาต้นฉบับ

อังกฤษ

ทุนการสร้าง

$165,000,000

รายได้

$701,729,206

IMDB

8.7

TMDB

8.4

4 ความคิดเห็น
·
4 ตอบกลับ
NEKO
Eating your own dog food

อ่านรีวิวแล้ว อยากกลับไปดูอีกรอบเลยครับ😎

1 ตอบกลับ
AVAVARAN

🚀ต้องจัดแล้วครับ

ชอบดูหนังเป็นชีวิตจิตใจ เพราะหนังให้อะไรมากกว่าที่คุณคิด

เขียนดีมากครับ หนังในตำนานจริงๆ เรื่องนี้ จำได้เลยว่าตอนออกฉายใหม่ๆ คนนั่งเถียงกันเรื่องทฤษฎีหลุมดำของเรื่องนี้กันแบบจริงจังเลย ล้ำมากก

1 ตอบกลับ
AVAVARAN

ขอบคุณมากๆ นะครับผม 🙏🏾 จริงครับ แฟนๆ บางคนได้ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับทฤษฎีต่างๆ จากเรื่องนี้จนเราดูพวก Avengers กันได้แบบชิวๆ 😁

Chonla3

หนังของท่านศาสดาโนแลน

1 ตอบกลับ
AVAVARAN

🫶🏽

BLACKPEN
ชอบงานเขียน ชอบมองหาธุรกิจ Blue Ocean สักวันต้องมี The Big Short เป็นของตัวเอง

FC ตั้งแต่ The Dark Knight (2008) แค่ชื่อผู้กำกับก็พร้อมไปนั่งดูครับ 555

1 ตอบกลับ
AVAVARAN

🫶🏽


คุณต้อง สมัครสมาชิก หรือ เข้าสู่ระบบ ก่อน เพื่อที่จะสามารถแสดงความคิดเห็นได้