George เป็นราชาผู้บ้าคลั่งจริงหรือไม่? ไขความจริงเกี่ยวกับอาการป่วยทางจิตของ กษัตริย์ George ที่ 3 ที่อิงจากเรื่องจริงบางส่วน

เนื้อหาต่อจากนี้มีสปอยล์ซีรีส์เรื่อง Queen Charlotte: A Bridgerton Story

ในซีรีส์เราได้เห็นเรื่องราวที่น่าตกใจในจักรวาล Bridgerton เมื่อกษัตริย์ George ที่ 3 เริ่มแสดงอาการผิดปกติและต้องรักษาโดยจิตแพทย์ที่ใช้ความรุนแรงในการักษา และเราได้เห็นสาเหตุแห่งความทุกข์ของเขา ตลอดจนอาการประสาทหลอน และคำพูดที่วกไปวนมา อันเนื่องมาจากอาการป่วยทางจิตที่ไม่มีใครทราบสาเหตุและวิธีรักษา

Screen Shot 2566-05-11 at 11

George และ Charlotte มีเรื่องทะเลาะกันแทบจะทุกครั้งที่เจอหน้ากัน ในขณะที่พยายามมีองค์รัชทายาทเพื่อสืบทอดราชบัลลังก์ จนกระทั่ง Charlotte ได้พบเห็นอาการผิดปกตินี้ของ George ด้วยตัวเอง จากที่เราเห็นเพียงมุมของ Charlotte เราได้เห็นอีกมุมที่ George ต้องเผชิญ สาเหตุที่เขาหลีกเลี่ยงภรรยาอันเป็นที่รักเพื่อต่อสู้กับอาการเสียสติที่เกิดขึ้นบ่อยครั้ง ทำให้เขาไม่สามารถควบคุมตัวเอง การพูด และแม้แต่การเคลื่อนไหว และเพื่อให้ตัวเองหายดีเขายอมเข้ารับการรักษาจากจิตแพทย์อย่าง Dr. Monro ซึ่งใช้วิธีที่รุนแรงเพื่อให้เขาฟื้นคืนสติ

ตัวตนจริงของ กษรัตริย์ George ที่ 3 ก็ต้องทนทุกข์กับอาการป่วยทางจิตลึกลับด้วยเช่นกัน จากในซีรีส์เราเห็นว่าเขาเริ่มมีอาการก่อนที่จะแต่งงานกับ Charlotte แต่ในชีวิตจริงอาการป่วยทางจิตของเขาเริ่มต้นอย่างชัดเจนหลังจากแต่งงานไปได้ 4 ปี ซึ่งในตอนนั้นเขามีอายุเพียง 27 ปีเท่านั้น ตามรายงานในเวลานั้นเขาเริ่มเสียสติครั้งแรกในปี 1865 โดยมีอาการไข้สูงพร้อมกับอาการไออย่างรุนแรง ตามมาด้วยอาการน้ำหนักลดอย่างกระทันหัน นอนไม่หลับ และความบกพร่องทางสติปัญญาขั้นรุนแรง ราชวงศ์ระส่ำระส่ายอย่างมาก มีการแต่งตั้งผู้สำเร็จราชการแทนแต่ไม่นานก็ถูกยกเลิกเมื่อ George ฟื้นคืนชีพ

อีก 23 ปีต่อมา โรคประหลาดนี้ไม่เพียงแต่กลับมาเท่านั้นแต่ยังเกิดขึ้นบ่อยครั้งด้วย ในปี 1788 จากคนใกล้ชิดได้บอกว่าเขาเป็นชายที่ใจดีและอ่อนโยน แต่เมื่ออาการกำเริบเขาก็เริ่มหยาบคาย และเริ่มล่วงละเมิดทางเพศสตรีที่อยู่ในคฤหาสน์วินเซอร์ นอกจากนี้เขายังต้องทนทุกข์จากภาพหลอน การพูดจาที่วกไปวนมา รวมถึงอาการชักอย่างรุนแรง ตามรายงานที่เขียนโดย Robert Greville คนรับใช้ผู้ใกล้ชิดของเขากล่าวว่า กษัตริย์ George ใช้เวลาช่วงคริสต์มาสของปี 1788 ไปกับการอุ้มหมอนที่เขาคิดว่าเป็นลูกชายของเขา

Screen Shot 2566-05-11 at 11

การกำเริบของโรคนำไปสู่วิกฤตทางอำนาจของราชสำนักอีกครั้ง ฝ่ายค้านร้องเรียนให้มีการแต่งตั้งผู้สำเร็จราชการแทนโดยลูกชายคนโตของเขา George ที่ 4 แต่ Tories ผู้บังคับบัญชาของสภาในเวลานั้นพยายามหลีกเลี่ยงไม่ให้มีผู้สำเร็จราชการ และ George ต้องกลับไปรักษาอาการป่วยที่ไม่ทราบสาเหตุอีกครั้ง ซึ่งแพทย์ในสมัยนั้นเชื่อว่าโรคที่เขาเป็นเกิดจากความไม่สมดุลของอารมณ์ เพื่อคืนความสมดุลนี้เขาถูกปฏิบัติอย่างไร้มนุษยธรรม มีการใช้ผงสารหนู ปลิง ยาชำระล้าง และอ่างน้ำแข็ง เหมือนกับที่เราเห็นในซีรีส์

แน่นอนว่าการรักษาเหล่านี้ไม่ได้ผล หลังจากปี 1788 ราชินีตัวจริงอย่าง Charlotte ได้ขอความช่วยเหลือจากแพทย์และรัฐมนตรี Francis Willis ซึ่งในเรื่องคือบทของ Dr. Monro เขาต้องกลับเข้ารักษาอาการทางจิตนี้อย่างเข้มงวดอีกครั้งและถูกสั่งห้ามไม่ให้พบเจอคนในครอบครัวและได้รับอนุญาตให้ทานแต่อาหารบดด้วยช้อนไม้เท่านั้น

กษัตริย์ George ที่ 3 ฟื้นตัวจากโรคนี้ในปี 1789 และกำเริบอีกครั้งในปี 1801 อีกครั้งในปี 1804 และอีกครั้งในปี 1810 ขณะมีพระชนมายุได้ 71 พรรษา และเขาไม่สามารถฟื้นตัวได้เป็นปกติ จนตาของเขาเกือบบอดจากต้อกระจก และโรคสมองเสื่อม เขาใช้เวลากว่า 10 ปีโดยไม่รู้ว่าใน 10 ปีนั้นโลกภายนอกเป็นอย่างไร เมื่อราชินี Charlotte สิ้นประชนม์ในปี 1818 ซึ่งในตอนนั้นเขาไม่รู้ด้วยซ้ำว่าพระนางคือใคร

และจนถึงทุกวันนี้นักวิจัยยังไม่แน่ใจว่าอะไรคือสาเหตุของความบ้าคลั่งที่เกิดขึ้นกับกษัตริย์ George ที่ 3 จนในที่สุดก็ได้รับการวินิจฉัยว่าอาจเป็นโรค Porphyria ซึ่งเป็นภาวะทางพันธุกรรมที่อาจเกิดอาการต่างๆ อันได้แก่ ความเจ็บปวดทางร่างกาย นอนไม่หลับ และความไม่มั่นคงทางจิตใจ ทฤษฏีนี้ถูกเสนอในปี 1960 โดยจิตแพทย์ Ida Macalpine และ Richard Hunter และหลักฐานที่น่าสยดสยองอย่างรายงานทางการแพทย์ที่เกี่ยวกับสีปัสสาวะของเขาซึ่งมีสีน้ำเงินที่พบได้บ่อยในผู้ป่วย Porphyria

Screen Shot 2566-05-11 at 11

ในปี 2013 มีการวินิจฉัยใหม่อีกครั้งโดยแพทย์ Peter Garrard และ Vassiliki Rentoumi ที่มหาวิทยาลัยลอนดอน ซึ่งสรุปว่าโรคนี้ไม่ใช่โรคทางพันธุกรรม แต่เป็นโรคทางจิตเวช โดยวิเคราะห์ร่วมกับจดหมายที่ กษัตริย์ George เขียนในช่วงเริ่มต้นของอาการ พวกเขาพบว่าพระองค์เขียนจดหมายที่มีความยาวผิดปกติ รวมถึงคำซ้ำมากถึง 400 คำ Garrard และ Rentoumi กล่าวว่าสามารถพบได้ในงานเขียนของผู้ป่วยจิตเวชที่ต้องผ่านช่วงเวลาแห่งความคลุ้มคลั่งซึ่งเกิดจากความเจ็บป่วย เช่น โรคอารมณ์สองขั้ว BBC ระบุว่า การที่ George อยู่ในอาการคลั่งตรงกับคำอธิบายร่วมสมัยเกี่ยวกับอาการป่วยของเขา ยังมีอาการพูดไม่หยุดจนน้ำลายฟูมปาก และอาการปัสสาวะสีน้ำเงินก็เกิดจากการทานยาของดอกไม้สีน้ำเงินเข้มเข้าไปจำนวนมาก ซึ่งทฤษฏีสุดท้ายเป็นทฤษฏีที่ดีที่สุด แต่ไม่ว่าเขาจะเป็นโรคอะไรก็ไม่ควรรักษาด้วยปลิงและอ่างน้ำแข็ง

Queen Charlotte: A Bridgerton Story สามารถรับชมได้แล้วบน Netflix

ที่มา: Collider
0 ความคิดเห็น

คุณต้อง สมัครสมาชิก หรือ เข้าสู่ระบบ ก่อน เพื่อที่จะสามารถแสดงความคิดเห็นได้

poster
Queen Charlotte: A Bridgerton Story

ควีนชาร์ล็อตต์: เรื่องเล่าราชินีบริดเจอร์ตัน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวจัดอันดับ

ประจำเดือนนี้